2023-10-02 04:54:18
คือแผนผังที่ใช้ในการจำลองและอธิบายการทำงานของระบบการในเหตุการณ์จริง ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการออกแบบโปรแกรม OOP (object-oriented system) โดยมีแนวคิดในการใช้สัญญาลักษณ์อธิบายขั้นตอนการออกแบบมีอยู่สามวิธี
-วิธีการของ Grady Booch ที่อธิบายเกี่ยวกับกลุ่มวัตถุและความสัมพันธ์
-เทคนิคในการสร้างแบบจำลองของ James Rumbaugh ที่ใช้ในการจำลองการทำงานและออกแบบซอฟต์แวร์
-การจำลองการใช้งานจริงของ Ivar Jacobson
เวลาต่อมาในปี 1994 James Rumbaugh และ Ivar Jacobson ได้ร่วมกันสร้างโครงสร้าง UML โดยได้รับการสนับสนุนจาก Rational Software โดยนำวิธีการใช้สัญญาลักษณ์ต่าง ๆ มาร่วมกัน ในปี 1997 Object Management Groub (OMG) ได้สร้างมาตรฐานในการใช้ UML และเผยแพร่เวอร์ชัน 1.1 อีกทั้งยังได้เป็นรากฐานของแนวคิดอื่น ๆ เช่น Business Process Management Plus, Common Object Request Broker Architecture, MetaObject Facility และ Information Exchange Framework ฯลฯ และในปี 2005 UML ก็ได้ผ่านมาตรฐาน ISO และมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
UML นั้นมีวิธีการในการสร้างแผนผังในการออกแบบระบบ เพื่อสร้างความเข้าใจและทำให้คนภายในทีมเข้าใจตรงกันในกระบวนการทำงานและการออกแบบซอฟต์แวร์
ซึ่งมีรูปแบบในการกำหนดแผนผังอยู่ 14 แบบ โดยแบ่งเป็นโครงสร้าง และพฤติกรรม
1.คลาส (Class) แผนผังของระบบที่กำหนดคลาส คุณลักษณะและวิธีการ และความสัมพันธ์ระหว่างคลาส
2.ส่วนประกอบ (Component) แผนผังที่อธิบายส่วนประกอบ เช่น ไลบรารีและโปรแกรมปฏิบัติการ และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ
3.วัตถุ (Object) แผนผังคลาสของระบบ ณ เวลาที่กำหนด เพื่อให้เห็นภาพรวมของอินสแตนซ์คลาสโครงสร้างข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างอินสแตนซ์ต่าง ๆ
4.โปรไฟล์ (Profile) แผนผังที่อธิบายการขยายระบบผ่านโปรไฟล์ซึ่งรวมถึงการกำหนดค่าเอง แท็ก และข้อจำกัด
5.โครงสร้าง Composite แผนผังการที่แสดงโครงสร้างภายในของคลาส ส่วนประกอบและตัวเชื่อมต่อ การตอบสนองทั้งภายในคลาสและระหว่างคลาส
6.การปรับใช้ (Deployment) แผนผังการกระจายตัวของซอฟต์แวร์ภายในระบบฮาร์ดแวร์ที่ต้องการนำไปใช้
7.ส่วนประกอบทั้้งหมด (Package) แผนผังของระบบ จัดกลุ่มองค์ประกอบ UML และการพึ่งพากันระหว่างสองทีม
และนอกจากนี้แล้ว UML ยังมีการกำหนดกลุ่มของแผนผังการตอบโต้ระหว่างโครงสร้างพฤติกรรม ด้วยสี่แผนผังนี้
1.ลำดับ (Sequence) แผนผังลำดับการโต้ตอบระหว่างสอง Sequence
2.การสื่อสาร (communication) แผนผังการทำงานระหว่าง Object ที่คล้ายกันในแผนผัง แต่เน้นไปในการโต้ตอบไปมากกว่าลำดับการทำงาน
3.ภาพรวมการตอบโต้ (Interaction overview) แผนผังของความลื่นไหลในการควบคุมการโต้ตอบขององค์ประกอบบนระบบในระดับสูงและซับซ้อน
4.เวลา (timing) ลำดับเวลาและเหตุการณ์ภายในกรอบเวลาที่กำหนด
2024-06-10 03:19:31
2024-05-31 03:06:49
2024-05-28 03:09:25
2024-05-24 11:26:00
บทความที่น่าสนใจอื่นๆยังมีอีกมากลองเลืือกดูจากด้านล่างนี้ได้นะครับ
2024-12-03 04:32:17
2024-12-04 09:14:33
2024-01-25 01:58:26
2024-09-04 11:56:27
2024-08-13 02:36:06
2024-08-13 11:35:08
2024-05-02 10:07:23
2024-10-28 01:48:58
2024-12-20 02:22:55