Technology

วิธีเลือกโดเมนและโฮสติ้ง:การสร้างเว็บไซต์แบบมือใหม่

2024-09-10 11:09:07


การเลือกโดเมนและโฮสติ้งเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างเว็บไซต์สำหรับมือใหม่ โดเมนคือชื่อเว็บไซต์ของคุณ ส่วนโฮสติ้งเป็นพื้นที่ที่เก็บข้อมูลและไฟล์ต่างๆของเว็บไซต์ ทั้งสองสิ่งนี้จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ความเร็ว และการเข้าถึงของเว็บไซต์ เรามาดูวิธีการเลือกโดเมนและโฮสติ้งที่เหมาะสมกัน




วิธีเลือกโดเมน

โดเมนคือชื่อที่ผู้ใช้จะพิมพ์เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของคุณ เช่น www.example.com การเลือกชื่อโดเมนที่ดีควรเป็นไปตามหลักการดังนี้

เคล็ดลับในการเลือกใช้โดเมน:

  • สั้นและจำง่าย: โดเมนควรสั้น กระชับ และจดจำได้ง่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถพิมพ์หรือบอกต่อได้สะดวก
  • สะกดง่าย: หลีกเลี่ยงการใช้คำที่สะกดยากหรือมีหลายวิธีการสะกด เพื่อป้องกันความสับสน
  • เลือกนามสกุลที่เหมาะสม: .com เป็นนามสกุลโดเมนที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด แต่หากเว็บไซต์ของคุณเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร คุณอาจเลือกใช้ .org หรือหากเว็บไซต์ที่มีเฉพาะในประเทศไทยอาจเลือกใช้ .co.th
  • เชื่อมโยงกับแบรนด์หรือธุรกิจ: โดเมนควรสะท้อนถึงธุรกิจหรือเนื้อหาของเว็บไซต์ หากชื่อแบรนด์ของคุณว่าง ควรใช้ชื่อแบรนด์เป็นโดเมน แต่ถ้าชื่อโดเมนถูกจองไปแล้ว ลองเพิ่มคำอื่นที่เกี่ยวข้องที่บ่งบอกถึงประเภทธุรกิจของเรา
  • ตรวจสอบความพร้อมใช้: ใช้เครื่องมือตรวจสอบความพร้อมใช้งานของโดเมน เช่น GoDaddy, Namecheap หรือ Google Domains เพื่อดูว่าชื่อที่คุณต้องการถูกจองไว้หรือไม่

เครื่องมือจดโดเมนที่นิยม

  • GoDaddy: มีเครื่องโมตรวจสอบโดเมนและเสนอโดเมนที่ว่างให้เลือก
  • Namecheap: จดโดเมนในราคาย่อมเยาและมีบริการสนับสนุนที่ดี
  • Google Domains: ใช้งานง่าย และมีการเชื่อมต่อกับบริการของ Google


วิธีเลือกโฮสติ้ง

โฮสติ้งเป็นบริการที่ให้คุณเช่าพื้นที่ในการเก็บข้อมูลไฟล์ต่างๆของเว็บไซต์ เช่น รูปภาพ, เนื้อหา, ฐานข้อมูล

การเลือกโฮสติ้งที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น

ประเภทของโฮสติ้ง

  • Shared Hosting: เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็กหรือมือใหม่ โดยคุณจะแชร์พื้นที่และทรัพยากรณ์กับเว็บไซต์อื่นๆบนเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน ค่าใช้จ่ายต่ำ และความเร็วอาจจะลดลงหากมีการใช้งานทรัพยากรที่มากเกินไป
  • VPS (Virtual Private Server): คุณจะได้รับทรัพยากรณ์ที่แยกออกจากเว็บไซต์อื่นๆ แม้จะยังแชร์เซิร์ฟเวอร์อยู่ก็ตาม เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดกลางที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้น
  • Dedicated Hosting: คุณจะได้เซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่องสำหรับเว็บไซต์ของคุณเพียงอย่างเดียว เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีทราฟฟิกสูง แต่ราคาค่อนข้างแพง
  • Cloud Hosting: ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการโฮสเว็บไซต์ ชึ่งช่วยให้มีความยืดหยุ่นและรองรับทราฟฟิกได้ดี เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการการขยายตัวและมีผู้ใช้จำนวนมาก

เคล็ดลักในการเลือกโฮสติ้ง

  • ความน่าเชื่อถือและความเสถียร: ตรวจสอบว่าโฮสติ้งมีการให้ uptime (ระยะเวลาที่เว็บไซต์ออนไลน์) สูงเพียงพอหรือไม่ ควรมี uptime อย่างน้อย 99.9%
  • ความเร็ว: เลือกโฮสติ้งที่มีการเชื่อมต่อกับเซิฟเวอร์ที่รวดเร็ว เพื่อให้เว็บไซต์โหลดได้อย่างรวดเร็ว
  • พื่นที่จัดเก็บและแบนด์วิดท์: ตรวจสอบว่าโฮสติ้งมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพียงพอและมีแบนด์วิดท์เพียงพอสำหรับจำนวนผู้ใช้งานเว็บไซต์ของคุณ
  • การสนับสนุน: เลือกผู้ให้บริการโฮสติ้งที่มีการสนับสนุนลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะหากคุณไม่คุ้นเคยกับการแก้ไขปัญหาเทคนิค
  • ราคา: เลือกโฮสติ้งที่ตรงกับงบประมาณของคุณ แต่ควรพิจารณาคุณภาพและฟีเจอร์ที่ได้รับด้วย อย่าเลือกเพียงเพราะราคาที่ถูก

ผู้ให้บริการโฮสติ้งยอดนิยม

  • Blueost: โฮสติ้งที่แนะนำโดย WordPress ง่ายต่อการติดตั้งและใช้งาน มีบริการสนับสนุนตลอด 24 ชั่วโมง
  • SiteGround: มีชื่อเสียงด้านความเร็วและการสนับสนุนลูกค้าที่ดีเยี่ยม มีฟีเจอร์ SEO ให้ในตัว
  • HostGator: มีแพ็กเกจที่หลากหลาย ราคาย่อมเยา และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ

เมื่อคุณได้โดเมนและโฮสติ้งแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเชื่อมโยงโดเมนเข้ากับโฮสติ้ง ซึ่งทำได้โดยการอัปเดต DNS (Domain Name System) ของโดเมนให้ชี้ไปที่เซิร์ฟเวอร์ของโฮสติ้งที่คุณเลือก หาคุณใช้บริการจดโดเมนและโฮสติ้งจากผู้บริการเดียวกัน การเชื่อมต่อจะง่ายและรวดเร็ว




การเลือกโดเมนและโฮสติ้งที่เหมาะสม จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้งานได้


ร่วมเเสดงความคิดเห็น :

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆยังมีอีกมากลองเลืือกดูจากด้านล่างนี้ได้นะครับ